ตรายาง จำเป็นแค่ไหนต่อ การจดทะเบียนบริษัท
- จันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567
- 208
เพราะเรื่องการจดทะเบียนบริษัทซับซ้อนกว่าที่หลายคนเข้าใจ ถ้าว่ากันตามขั้นตอนจริงๆ อาจจะไม่ได้ซับซ้อนหรือใช้เวลามากเท่าไหร่นัก แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความเหมาะสม การคำนวณภาษี การทำความเข้าใจข้อมูลเราอาจจะต้องใช้เวลากันสักพักใหญ่ เพื่อนั่งทำความเข้าใจและพิจารณาว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้นเหมาะกับธุรกิจเราแค่ไหน เพราะการจดทะเบียนบริษัทนั้นมีอีกหลายเรื่องให้คุณใส่ใจ มากกว่าเรื่องของภาษี
จากบทความ การจดทะเบียนบริษัท กับคำถามที่พบบ่อย เราได้บอกทุกคนไปแล้วว่า ในการจดทะเบียนบริษัทนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าคุณจำเป็นที่จะต้องสั่งทำตรายางเพื่อจดทะเบียนบริษัท คุณสามารถยื่นขอจดทะเบียนบริษัทได้โดยที่ไม่ต้องมีตรายางหรือตราประทับก็ได้
มีตรายางกับไม่มีตรายาง ต่างกันยังไง?
ใครที่กำลังคิดอยากจะจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่แน่ใจในความแตกต่างของการมีตรายางและไม่มีตรายาง iTAX ทำการเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้แล้ว
ข้อดีของการมีตรายาง
-
เพื่อความน่าเชื่อถือ เป็นสากล
-
ใช้เป็นการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรม และป้องกันการปลอมแปลงได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ตรายางถือเป็นของเฉพาะตัวสำหรับแต่ละบริษัท และหากคุณจะสั่งทำตรายางเราแนะนำให้สั่งทำทีละ 1 – 2 อัน ก็พอ
ข้อเสียของการมีตรายาง
-
ขาดความคล่องตัว เพราะคุณจะต้องพกตรายาง (และตลับหมึก) ติดตัวไปด้วยแทบจะตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะไปเจรจาธุรกิจ ทำสัญญา รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร
-
ง่ายต่อการสูญหาย
-
สึกหรอตามการใช้งาน
-
มีความยุ่งยาก ในกรณีที่คุณต้องการเปลี่ยนหรือเพิ่มรายละเอียดของตรายาง คุณจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th ) ใหม่
หลักเกณฑ์โดยทั่วไปของตรายาง
โดยทั่วไปแล้ว ตรายางจะมีชื่อบริษัทหรือไม่มีก็ได้ แต่ในกรณีคุณสั่งทำตรายางแบบมีชื่อบริษัท ตรายางจะต้องมีความชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้ หรือตรงกับชื่อภาษาต่างประเทศที่ขอใช้และต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย ตรายางใช้ชื่อภาษาอังกฤษอย่างเดียวได้มั้ย?
หากคุณอยากสั่งทำตรายางเป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างเดียว ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องระบุชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทพร้อมกับแสดงประเภทนิติบุคคล เช่น Company Limited (ใช้ตัวย่อว่า Co.,Ltd.) ด้วย
ดังนั้น หากคุณคิดจะทำตรายางเพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจก็สามารถทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการจดทะเบียนบริษัทไม่ได้มีแค่เรื่องตรายางเท่านั้นที่คุณจะต้องให้ความสำคัญ แต่ยังมีเรื่องภาษี รายได้ กำไรที่ได้จากธุรกิจที่ต้องนำมาคิดร่วมด้วย
อ้างอิงเนื้อหาบทความ
https://www.itax.in.th/media/ตรายาง/