ความเข้าใจพื้นฐานของการเริ่มต้นออกแบบกราฟฟิก
- พุธที่ 23 ตุลาคม 2567
- 146
การออกแบบการสื่อสารนั้น อาศัยจินตนาการอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ซึ่งนักออกแบบ นอกจากเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการปฏิบัติงานผลิตได้แล้ว หัวใจส าคัญต้องเข้าใจธรรมชาติของการสื่อสาร ของมนุษย์ที่ตอบสนองการรู้ โดยใช้ขบวนการในการออกแบบสื่อสาร ซึ่งหลายๆ คนอาจใช้วิชาด้านการผลิตสื่อเพื่อสนอง ลักษณะการรับรู้ ของข้อจ ากัดในแต่ละคน สิ่งส าคัญในรายละเอียดนักออกแบบต้องเข้าใจธรรมชาติของข้อมูล ในการส่งสาร รับสาร ไม่ว่าจะออกแบบการสื่อสารประเภทใดก็ตามเช่น สิ่งพิมพ์ มัลติมีเดีย การออกแบบระบบป้ายหรือ ภาพนิ่ง ล้วนแล้วต้องอาศัยแนวคิดในการสื่อสารอันมีทฤษฎีในออกแบบเช่นกัน เพื่อสนับสนุนความเข้าใจและความชัดเจน การสื่อสารที่ดีนอกจากจะช่วยให้เข้าใจความหมายได้ดีแล้ว สื่อที่ดีสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้รับสารได้อีกด้วย ทั้งนี้สิ่งที่มีอยู่ในสื่อเกือบทุกชนิด คงหนีไม่พ้น ภาพกราฟิกที่เพื่อการสื่อสาร
งานออกแบบกราฟิก (Graphic Design) เกี่ยวข้องกับศาสตร์ 2แขนง คือ ศิลปะ (Arts) และการออกแบบ (Design) โดยศิลปะเป็นศาสตร์แห่งการแสดงออกทางจินตนาการและอารมณ์ คุณค่าทางศิลปะขึ้นอยู่กับความงาม การรับรู้ อารมณ์ของงานโดยศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ซึ่งศิลปะสร้างโดยศิลปินส่วนงานออกแบบ (Design) คือ ศาสตร์แห่งความคิด การแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมาย และสามารถน ากลับมาใช้งานได้อย่างพึงพอใจ ซึ่งสามารถแยกได้ 3ด้าน
-
ความสวยงาม (Aesthetics) เป็นความพึงใจด้านแรกที่คนเราจะสัมผัสได้ก่อน
-
ประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็นสิ่งส าคัญในการออกแบบ เช่น เก้าอี้ที่ดีต้องนั่งสบาย ไม่ปวดหลัง สื่อสิ่งพิมพ์ที่ดี ต้องอ่านง่าย และสื่อสารได้ชัดเจนหรืออาจดีมากคือ ผู้อ่านเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-
แนวคิดในการออกแบบ (Concept) ที่ดีเป็นตัวช่วยให้งานออกแบบมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น(Value Added) เป็นแนวทางในการออกแบบให้งานมีเป้า มีรูปแบบชัดเจน
การรับรู้ทางการสื่อสารเพื่อการออกแบบกราฟิกทั้งนี้นักออกแบบกราฟิกจ าเป็นต้องวิเคราะห์ด้านความสนใจและข้อจ ากัดหรือความสะดวกในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักมาก่อน ซึ่งในการรับรู้ของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน จากประสบการณ์ของทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมโดยอาศัย ซึ่งการรับรู้ที่สามารถเข้าใจตรงกันเป็นผลที่ดีที่สุด คือการรับรับรู้ภาษาของภาพ ด้วยความรู้สึก เพราะภาพนั้นแทนความหมายและเป็นภาษาสากลที่สื่อสารได้อย่างเข้าใจ อย่างเช่น คนหูหนวกหรือผู้บกพร่องทางการได้ยินนั้น สามารถที่จะเข้าใจความหมายของภาพ ได้ดีกว่าตัวสะกดภาษาไทย เป็นต้น
การรับรู้ด้วยความรู้สึก
กระบวนการของการรับรู้ เกิดขึ้นเป็นล าดับ ดังนี้ สิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือสถานการณ์ มาเร้าอินทรีย์ ท าให้เกิดการสัมผัส (Sensation) และเมื่อเกิดกรสัมผัสบุคคล จะเกิดมีอาการแปล การสัมผัสและมีเจตนา (Conation) ที่จะแปลสัมผัสนั้น การแปลสัมผัส จะเกิดขึ้นในสมอง ท าให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น การที่เราได้ยินเสียงดัง ปัง ปังๆ สมองจะแปลเสียงดังปัง ปัง โดยเปรียบเทียบกับเสียง ที่เคยได้ยินว่าเป็น เสียงของอะไร เสียงปืน เสียงระเบิด เสียงพลุ เสียงประทัดเสียงของท่อไอเสียรถ เสียงเครื่องยนต์ระเบิด หรือเสียงอะไร เราอาจสรุปกระบวนการรับรู้จะเกิดได้จะต้องมีองค์ประกอบคือ 1)มีสิ่งเร้าที่จะท าให้เกิดการรับรู้ เช่น สถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมรอบกายที่เป็นคน สัตว์ และสิ่งของ2)ประสาทที่ท าให้เกิดความรู้สึกสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส และผิวหนังรู้ร้อนหนาว3)ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่เราสัมผัสและ 4)การแปลความหมายของสิ่งที่เราสัมผัส สิ่งที่เคยพบเห็นมาแล้วย่อมจะอยู่ในความทรงจ าของสมอง เมื่อบุคคลได้รับสิ่งเร้า สมองก็จะท าหน้าที่ทบทวนกับความรู้ที่มีอยู่เดิมว่าสิ่งเร้านั้นคืออะไรดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ และน่าสนใจเพียงใด ในรายระเอียดของการรับรู้ลึกๆ ซึ่งพวกเรามักเลือกที่จะจดจ าอาจจะเกิดความประทับใจ หรือจากประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งนี้นักออกแบบเองก็อาศัยแนวคิดเหล่านี้มาขยายความในการออกแบบได้เช่นกันโดยอาศัย การรับรู้จากความรู้สึกเป็นแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์ที่ผู้เขียนเห็นว่าเหมาะสม
อ้างอิงเนื้อหา
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)ปีที่6
ฉบับที่2พฤษภาคม-สิงหาคม2559
ดูเนื้อหาเพิ่มเติม
http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%206_2/6_2_13.pdf